ชื่ออาชีพ นักประชาสัมพันธ์ , เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ Public Relations Officer
นิยามอาชีพ
ลักษณะของงานที่ทำ
- ศึกษางานหรือกิจกรรม หรือสินค้าขององค์กร นโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ต้องการ ทำการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ในการวางแผนและดำเนินงานประชาสัมพันธ์
- วางแผนงาน โครงการ และการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรับรู้ หรือรู้เห็น สร้างความเชื่อถือ กระตุ้นพนักงานขายหรือบริการ หรือคนกลาง โดยการเสนอข่าว หรือบทความเกี่ยวกับงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ออกจำหน่ายแล้ว หรือจะออกจำหน่ายใหม่
- คัดเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับงานหรือผลิตภัณฑ์ที่จะประชาสัมพันธ์ เช่น สิ่งพิมพ์ การสร้าง กิจกรรมหรืออุปถัมภ์รายการ จัดทำข่าวสารเผยแพร่ การกล่าวสุนทรพจน์ หรือคำปราศรัย ในงานที่จัดขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการช่วยเหลือสาธารณชน เพื่อสร้างความนิยมให้แก่องค์กร
- ดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเครื่องมือที่คัดเลือกแล้ว หรือผ่านสื่อมวลชนต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
- จัดหาข้อความที่เหมาะสมกับการประชาสัมพันธ์ โดยให้เกิดความรู้สึกเชื่อถือ สร้างความนิยมและดึงดูดใจ
- จัดทำข่าวสาร หรือจัดเตรียมการแถลงข่าวของผู้บริหารขององค์กร และร่างสุนทรพจน์ หรือคำปราศรัยที่ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังอย่างยิ่ง เพื่อเสริมสร้างภาพพจน์ขององค์กร และไม่เกิดผลกระทบต่อองค์กร
- จัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อสื่อสารสู่กลุ่มเป้าหมาย ตลาด สาธารณชนทั่วไป สิ่งพิมพ์อาจเป็นในรูปรายงาน ประจำปี จดหมายข่าว นิตยสาร บทความ ใบปลิว เป็นต้น
- จัดเก็บข่าวขององค์กร ตรวจสอบ และพิจารณาว่ามีผลกระทบต่อองค์กร หรือผลิตภัณฑ์หรือ ไม่ชี้แจงแก้ข่าวที่มีผลกระทบต่อองค์กรหรือผลิตภัณฑ์
- ประเมินผลการประชาสัมพันธ์ แก้ไขปรับปรุงการประชาสัมพันธ์เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบาย และเป้าหมาย และจัดทำรายงานผลการประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยข้อเสนอแนะ
สภาพการจ้างงาน
ส่วนสวัสดิการ โบนัส และผลประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้รับขึ้นอยู่กับ ผลประกอบการขององค์กร ช่วงเวลาทำงานมีทั้งเวลาทำงานปกติ และการทำงานล่วงเวลาเพื่อให้งานเสร็จ เพราะเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ มักจะต้องอยู่ต้อนรับแขกนักข่าว ตลอดจนลูกค้าจนกว่างานหรือการแถลงข่าวจะสิ้นสุดลง
สภาพการทำงาน
อาจมีการทำงานล่วงเวลา
สำหรับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของโรงแรมจะทำงานเป็นกะ กะละประมาณ 8-9 ชั่วโมง เนื่องจากธุรกิจโรงแรมเปิดตลอด 24 ชั่วโมงและไม่หยุดในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ ดังนั้น การทำงานของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อาจทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลง
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
- สำเร็จปริญญาตรีคณะวารสารศาสตร์ และสาขาสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์และสาขาที่ เกี่ยวข้อง บริหารธุรกิจสาขาการตลาด
- มีความรู้ภาษาอังกฤษดีมากทั้งการ พูด อ่าน เขียน ใช้เครื่องมือการสื่อสารได้ทุกชนิด รวมทั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่สามารถผลิตสื่อโฆษณาได้ และการรู้จักการใช้อินเตอร์เน็ต
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี ต่อบุคคลภายในบุคคล ภายนอก บรรณาธิการ หรือผู้สื่อข่าว
- มีปฏิภาณไหวพริบดี สามารถแก้ไขสถานการณ์ ได้ทันที เมื่อเกิดการผิดพลาดในการสื่อสาร
- ต้องรู้จักสร้างเครือข่ายกับผู้สื่อข่าว สื่อสารมวลชน หัวหน้าชุมชน องค์กรกลางต่างๆ เจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานของรัฐฯ
- มีความอดทน และพร้อมที่จะทำงานในเวลาใดก็ได้
- สามารถเดินทางไปต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ ตามงานที่ได้รับมอบหมาย
- ขวนขวายและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากทุกวงการ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาตาม หลักสูตรมัธยศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีความรู้ด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างดี รักการอ่าน การเขียน มีความรู้กว้างขวาง สนใจใฝ่หาความรู้ด้านต่างๆ อย่างจริงจัง มีความสามารถในการถ่ายทอด มีความสนใจทางด้านศิลปะการสื่อสารความหมายประเภทต่างๆ
โอกาสในการมีงานทำ
และเป็นที่ตระหนักกันอย่างดีแล้วว่า ผลของการไม่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องอาจนำมาซึ่งความเสียหายขององค์กรและประเทศชาติดังนั้นองค์กรของรัฐและเอกชนจึงต้องการ นักประชาสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ แต่เมื่อต้องการทำการประชาสัมพันธ์ระดับประเทศ หรือนานาชาติมักจะจัดจ้างบริษัท ตัวแทนจัดการ การโฆษณาประชาสัมพันธ์มาทำหน้าที่แทน ซึ่งก็ต้องจ้างนักประชาสัมพันธ์มืออาชีพมาทำงาน ในองค์กรธุรกิจเอกชนรายใหญ่ส่วนมากมักจะมีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ในฝ่ายสำนักงานบริหารทั่วไป แยกออกจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ส่งเสริมกิจการขาย ของฝ่ายการตลาด
ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายอาจจะมีทีมงานเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายละประมาณ 5 -10 คน ส่วนบริษัทห้างร้านขนาดย่อมจะมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 - 2 คน เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงาน ส่งเสริมภาพพจน์ และสินค้าของบริษัท นอกเหนือจากการว่าจ้างบริษัททำประชาสัมพันธ์ และปัจจุบันองค์กรธุรกิจมักจะรับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่มีความรู้ตรงกับธุรกิจที่ ดำเนินการอยู่ ดังนั้น โอกาสการมีงานทำจึงเปิดกว้าง สำหรับ ผู้สำเร็จปริญญาตรีทุกสาขา
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์สามารถประกอบอาชีพส่วนตัว โดยรับทำงาน ประชาสัมพันธ์กับองค์กร ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ได้ โดยใช้อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และยังประหยัดค่าใช้จ่ายใน การจัดตั้งบริษัทอีกด้วย
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
www.prstthailand.com
รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในสาขาประชาสัมพันธ์ | ||||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัย | คณะหรือประเภทวิชาที่เปิดสอน | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยนเรศวร | คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยพะเยา | คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | คณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ (ประชาสัมพันธ์) | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก | คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ) | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (รูปแบบที่ 1) | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี | คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ แขนงวิชาการประชาสัมพันธ์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี | คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (วิชาเอกประชาสัมพันธ์) | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา | คณะวิทยาการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ วิชาเอกการประชาสัมพันธ์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (เอกการประชาสัมพันธ์) | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม | คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (การประชาสัมพันธ์) | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (การประชาสัมพันธ์) | |||||||||||||||||||||