การเขียนประวัติย่อเพื่อการสมัครงาน (Resume) คือ ด่านแรกที่จะทำให้ผู้สมัครงานได้รับการเรียกสัมภาษณ์ หรือนัยหนึ่งคือใบเบิกทางที่สำคัญ นิสิต/นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในเดือน มี.ค. นี้ รู้หรือไม่ว่าพวกคุณทุกคนกำลังจะต้องเริ่มนับหนึ่งอีกครั้งกับสิ่งที่เรียกว่า “Resume” ...
ตั้งต้นจากResume
“สาธินี โมกขะเวส” กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางานจ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เว็บไซต์สมัครงานออนไลน์ กล่าวว่า Resumeที่ดีคือเรซูเมที่เตะตาต้องใจ ดูดี และเป็นความจริง บางฉบับไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งผู้มีหน้าที่สัมภาษณ์งาน หรือคนที่อ่านเรซูเมเก่งๆ จะรู้ทันทีว่า นี่เป็นอีกอันที่เป็น “ฟอร์แมต” เขียนตามๆ กันมา ทุกสิ่งทุกอย่างเขียนเรียงลำดับเหมือนกันหมด พลอยทำให้ผู้สมัครรายนั้นๆ หมดความน่าสนใจไปด้วย
“คนที่จะได้งานคือคนที่ทำความเข้าใจกับการเขียน เขียนได้สั้นกระชับ และไปให้ถึงจุดสุดท้ายให้เร็วที่สุด” สาธินี กล่าวอีกว่า
การเขียนเรซูเมเป็นเรื่องของจิตวิทยา จุดมุ่งหมายของเรซูเมคือ การเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่าน คนเขียนต้องรู้ว่าคนอ่านอยากรู้อะไร อ่านแล้วอยากเรียกมาสัมภาษณ์ ถือว่าบรรลุเป้า ส่วนใหญ่มักเขียนกันมาแบบยืดยาว น่าเบื่อ
วิธีเขียนประวัติเพื่อการสมัครงานยุคนี้
อันดับแรกคือ อย่ายาว (ไม่ควรเกิน 12 หน้า) ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากชื่อ นามสกุล ประมาณว่าโสด สูง หน้าตาดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์อยากรู้เป็นอันดับท้ายๆ เรซูเมควรเริ่มต้นจากโพรไฟล์ที่บรรยายความเป็นตัวเอง
1.ประสบการณ์
2.การศึกษา และ
3.ความสามารถ
สิ่งที่เรียกว่าสไตล์
หน้าที่ของเรซูเม คือการเป็นชอร์ตลิสต์หรือข้อความย่อ เพื่อบ่งบอกตัวผู้เขียนให้ได้มากที่สุด การเชื่อมระหว่างเอกสารกับการเป็นตัวตนของคนคนนั้น เรซูเมจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “สไตล์” เพื่อบ่งบอกสไตล์ของผู้เป็นเจ้าของ สไตล์นี้เองที่จะทำให้ใบสมัครแต่ละใบมีความแตกต่าง ยิ่งโดดเด่นก็ยิ่งได้เปรียบ
คำว่า “โดดเด่น” ในที่นี้ หมายถึงสิ่งที่เรียกว่า “Unique Selling Point” ซึ่งแต่ละคนก็แตกต่างกันไป บางคนไม่ได้เรียนเก่งที่สุด หากแต่เรียนรู้เร็ว มีความกระตือรือร้น มีทักษะ และทัศนคติที่ดี ก็ถือเป็นจุดดีที่ “ขาย” ได้ โดยเฉพาะกับองค์กรสมัยใหม่
องค์กรสมัยใหม่ในปัจจุบันต้องการคนที่มีสไตล์ มีบุคลิก มีทัศนคติเชิงบวก ต้องการคนที่สามารถเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของเขาได้ และเติบโตไปพร้อมกับองค์กรของเขาได้ นั่นหมายถึงว่าผู้สมัครต้องทำการบ้าน เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรที่ต้องการสมัครให้มาก องค์กรบางแห่งให้น้ำหนักกับปัจจัยเหล่านี้ ขณะที่คนเก่งแบบวันแมนโชว์กลายเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะเก่งเกินไปแต่ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
เรซูเมสมัยใหม่
การเรียกสัมภาษณ์จะพิจารณาจากเกณฑ์อะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นงานอะไรด้วย เช่น งานเซลส์ แม้จะเขียนแบบเรียงความไม่ได้ดี แต่โดยสายงานอาจมุ่งไปที่การพูดมากกว่าการเขียน อย่างนี้ก็พอไหว ตรงกันข้ามถ้าเป็นงานประเภทเลขานุการ ที่ต้องการความถูกต้อง ละเอียดรัดกุม แต่เรซูเมเขียนมาไม่สวย จัดวางพื้นที่หรือสเปซไม่ดี สะกดผิดๆ ถูกๆ แบบนี้ก็ตกม้าตายตั้งแต่ต้น เช่นเดียวกัน สมัครงานประเภทไอที แต่เรซูเมฟอร์แมตมาแบบเอ็กเซล ก็ตกม้าตายแต่แรกเหมือนกัน
เรซูเมสมัยใหม่ ควรบอกไลฟ์สไตล์ได้นิดหน่อย ได้แก่ งานอดิเรก เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบท่องเที่ยว ชอบเสิร์ชอินเทอร์เน็ต ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อบอกความเป็นตัวเรา แต่ทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎ “ห้ามพล่าม” อย่าใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย ขอให้สั้น ตรง กระชับ รัดกุมดีที่สุด กรณีเป็นเท็มเพลตสำเร็จรูป หรือการสมัครงานตามจ๊อบออนไลน์ก็ใช้ได้เหมือนกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดการเขียนแบบความเรียง
“องค์กรส่วนมากจะชอบเรซูเมที่เขียนขึ้นเอง มากกว่าเรซูเมสำเร็จรูปตามออนไลน์ คำแนะนำคือ ให้เขียนทั้ง 2 แบบ” สาธินี กล่าว
ถัดจากขั้นตอนเรซูเมไปก็คือการสัมภาษณ์ แต่ที่ไม่ควรละเลยคือตอนรับโทรศัพท์เรียกสัมภาษณ์ หลายคนถูกปฏิเสธเพราะตอบรับโทรศัพท์ไม่ดี
ตัวอย่างแย่ๆ มีตั้งแต่น้ำเสียงที่ไม่ประทับใจ เคี้ยวขนมไปพูดไป ถือว่าไม่สุภาพ พูดช้าไป พูดเร็วไป พูดอ่า...ฮะๆ ตลอดเวลา หรือบางคนก็มารยาทไม่ดีมากๆ เมื่อได้รับแจ้งว่าส่งใบสมัครงานมาใช่ไหม ตอบว่า “ใช่ แล้วไงคะ” หรือบางคนก็แสดงความไม่ใส่ใจ “ดูก่อนนะคะ” ถือเป็นวิธีการต่อรองเรื่องวันเวลาที่ทำให้ตัวเองเสียคะแนนมากๆ
“เมื่อได้รับโทรศัพท์เรียกสัมภาษณ์งาน ให้ตอบรับด้วยน้ำเสียงที่แสดงความเอาใจใส่ กระตือรือร้น พูดจาชัดเจน แอ็กทีฟ” สาธินี กล่าว
ผ่านด่านนี้ไปก็ถึงขั้นสัมภาษณ์งาน สูตรมาตรฐานคือ ไปให้ตรงเวลา แต่งกายสุภาพ โดยเฉพาะผู้หญิงต้องเรียบร้อย นั่งแล้วชายกระโปรงต้องคลุมเข่า รองเท้าหุ้มส้นและปลายเท้า พูดจาด้วยภาษาและบุคลิกเสียงที่ดี กิริยามารยาทดี มองหน้าคนสัมภาษณ์ และสำคัญมากคือต้องไม่ลืมปิดโทรศัพท์มือถือเด็ดขาด!
ฤดูกาลหางานของนิสิต/นักศึกษาจบใหม่กำลังจะเริ่มต้น ขอเอาใจช่วยให้ทุกคนโชคดี
การเรียกสัมภาษณ์จะพิจารณาจากเกณฑ์อะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นงานอะไรด้วย เช่น งานเซลส์ แม้จะเขียนแบบเรียงความไม่ได้ดี แต่โดยสายงานอาจมุ่งไปที่การพูดมากกว่าการเขียน อย่างนี้ก็พอไหว ตรงกันข้ามถ้าเป็นงานประเภทเลขานุการ ที่ต้องการความถูกต้อง ละเอียดรัดกุม แต่เรซูเมเขียนมาไม่สวย จัดวางพื้นที่หรือสเปซไม่ดี สะกดผิดๆ ถูกๆ แบบนี้ก็ตกม้าตายตั้งแต่ต้น เช่นเดียวกัน สมัครงานประเภทไอที แต่เรซูเมฟอร์แมตมาแบบเอ็กเซล ก็ตกม้าตายแต่แรกเหมือนกัน
หลายคนรู้จัก เรซูเม่ (Resume) แต่ไม่รู้ว่าเรซูเม่(Resume)ที่ดีเป็นแบบไหน เขียนกันยังไง เรซูเม่(Resume)เป็นเหมือนประเบิกทางที่จะทำให้บริษัทรู้จักกับเราและผนงานของเราในเวลาอันสั้นและรวดเร็ว ก็เช่นเดียวกับการเขียนจดหมายสมัครงานที่เราต้องเขียนสั้นกระชับได้ใจความ เราจะเขียนอย่างไรเรซูเม่(Resume)ถึงจะออกมาดีก็ง่ายมากครับ ดูตัวเรซูเม่(Resume)ของท่านอืนเยอะแล้วปรับใช้กับของเรานะครับ แต่อย่าลืมว่าสั้นกระชับได้ใจความและครอบคุม ดูกันเลยว่าเรซูเม่(Resume)ที่ดีเป็นยังไง
เรซูเม่ที่ดี เป็นอย่างไร
Resume เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้คุณได้งานทำได้ ไม่ว่าจะเลิศเลอสักแค่ไหน แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ Resume เรซูเม่ที่ดี จะช่วยดึงดูดความสนใจจากนายจ้างได้ เพราะจุดประสงค์ของ Resume ก็คือการทำให้ "ผลงานของคุณ" กับ "คุณสมบัติที่ว่าที่นายจ้างต้องการ" ใกล้เคียงกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพราะถ้านายจ้างได้อ่านแล้ว เกิดชอบใจขึ้นมา ก็จะติดต่อนัดหมายคุณเพื่อสัมภาษณ์งาน
Resume ก็เหมือน "แผ่นพับ" แผ่นเล็กที่จะช่วยโปรโมทคุณ ดังนั้นคุณต้อง "แสดง" ให้ว่าที่นายจ้างของคุณ เห็นว่าคุณมีผลงานยอดเยี่ยมแค่ไหน และมีประสบการณ์อะไรบ้าง กลยุทธ์ที่คุณควรนำมาใช้คือการเน้นการบรรยายประสบการณ์และทักษะ ที่คาดว่านายจ้างกำลังมองหาอยู่พอดี
Resume ยังเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงทักษะ ในการสื่อสารและการจัดระบบของตัวคุณเอง Resume ที่ดี จะเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่จะทำให้ว่าที่นายจ้างของคุณ รู้ว่าคุณจะเป็นลูกจ้าง ที่มีค่ามากแค่ไหน ในทำนองเดียวกัน Resume ที่ทำอย่างลวกๆ สุกเอาเผากินจะทำให้คุณหลุดออกจาก "ลู่วิ่ง" ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้นเลยด้วยซ้ำ
มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ Resume และการเขียน Resume ซึ่งบางครั้งก็อาจจะขัดแย้งกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้ว ก็ล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น
ข้อผิดพลาดในการเขียนเรซูเม่ที่ควรหลีกเลี่ยง
เรซูเม่ เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความประทับใจให้แก่นายจ้าง เวลาที่คุณสมัครงานแล้วไม่มีใครติดต่อกลับมา นั่นอาจเป็นเพราะเรซูเม่ของคุณยังไม่น่าประทับใจมากพอ ซึ่งอาจเกิดได้จากข้อผิดพลาดต่างๆ ดังนั้นจึงควรสำรวจตัวเองว่าการเขียนเรซูเม่ของคุณมีข้อผิดพลาดดังต่อไปนี้หรือไม่
1. เขียนหรือสะกดคำผิด
ในการเขียนเรซูเม่นั้น ไม่ควรปล่อยให้มีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนผิดไวยากรณ์หรือการสะกดคำผิด เพราะเมื่อนายจ้างอ่านไปเจอคำผิด เขาจะสรุปว่าคุณ “เขียนไม่เป็น” หรือไม่คุณก็เป็นคนที่ “ไม่เอาใจใส่ใจๆ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสมัครงานคุณมีเวลาเต็มที่ในการสร้างสรรค์เรซูเม่ให้สมบูรณ์แบบและน่าสนใจที่สุด เพราะคุณไม่ได้กำลังนั่งทำข้อสอบที่จำกัดเวลาในการทำ เรซูเม่ของคุณจะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความประทับใจให้แก่นายจ้าง ดังนั้นคุณจำเป็นต้องตรวจทานอย่างรอบคอบก่อนจะส่งเรซูเม่ออกไป
2. ขาดความเฉพาะเจาะจง
นายจ้างต้องการทราบว่า คุณจะสามารถทำอะไรให้องค์กรได้บ้าง ดังนั้นในการแนะนำตัวของคุณ ต้องระบุประสบการณ์ที่มีประโยชน์ต่อองค์กรด้วย การระบุรายละเอียดลงไปให้ชัดเจน แสดงว่าคุณเข้าใจในงานที่คุณสมัคร ซึ่งจะทำให้คุณมีความโดดเด่นแตกต่างจากคนที่เขียนแบบกลางๆ เช่น
นาย ก. ระบุว่าเคยทำงานกับลูกจ้างในภัตตาคาร
ส่วนนาย ข. ระบุว่าเคยทำหน้าที่สรรหา ว่าจ้าง ฝึกอบรม และดูแลลูกจ้างกว่า 20 คน ในภัตตาคารที่ทำรายได้กว่า 20 ล้านบาทต่อปี
จากตัวอย่างข้างต้น เรซูเม่ของนาย ก. หรือนาย ข. ที่จะจับความสนใจของนายจ้างได้ดีกว่ากัน
3. เขียนครั้งเดียวแต่ส่งไปทุกที่
เมื่อไรก็ตามที่คุณเขียนเรซูเม่แบบเขียนครั้งเดียวแล้วส่งไปทุกที่ เมื่อนั้นรู้ได้เลยว่าเรซูเม่ของคุณจะต้องลงไปนอนกองในถังขยะรวมกับเรซูเม่อีกจำนวนมากที่เขียนแบบเดียวกับคุณ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เรซูเม่ที่เขียนครั้งเดียวจะเหมาะกับทุกองค์กร นายจ้างต้องการเรซูเม่ที่ผู้เขียนตั้งใจที่จะสมัครงานกับองค์กรของเขาอย่างแท้จริง ซึ่งคุณต้องทำให้นายจ้างเห็นว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งดังกล่าวอย่างไร และเพราะอะไร
4. เขียนยาวหรือสั้นเกินไป
โดยทั่วไปแล้วความยาวของเรซูเม่ไม่ควรเกิน 2 หน้า แต่ถ้าคุณเพิ่งเรียนจบ ประวัติของคุณอาจจะไม่ยาวนัก และสามารถอยู่ได้ภายใน 1 หน้า ก็ไม่ต้องพยายามทำให้ได้ 2 หน้า หรือหากคุณมีประสบการณ์มากมาย ก็ไม่จำเป็นต้องตัดส่วนที่สำคัญออกเพื่อให้เรซูเม่ของคุณอยู่ได้ภายใน 1 หน้าตามมาตรฐานแต่อย่างใด
5. ตั้งเป้าหมายเพื่อตัวเอง
บ่อยครั้งที่นายจ้างอ่านวัตถุประสงค์ในการสมัครงานแล้วพบข้อความ เช่น คุณต้องการงานที่ท้าทายและมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งนายจ้างจะรู้สึกว่าคุณไม่ได้มีเป้าหมายที่จะทำให้องค์กรของเขาก้าวหน้า แต่คุณต้องการเพียงให้ตัวคุณมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จะดีกว่าถ้าคุณระบุเป้าหมายให้ตอบโจทย์ความต้องการทั้งขององค์กรและของตัวคุณเอง เช่น คุณต้องการงานที่ท้าทายสำหรับนักศึกษาจบใหม่ที่จะทำให้คุณได้ใช้ทักษะและประสบการณ์ในการระดมทุนให้แก่องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
6. ไม่ใช้กริยาที่บอกการกระทำ
หลายต่อหลายคนชอบเขียนเป็นวลี เช่น responsible for แทนที่จะใช้ คำกริยาที่บอกการกระทำ เช่น ตอบคำถามให้แก่นักศึกษาจำนวน 4,000 คน ในฐานะส่วนหนึ่งของทีมผู้ช่วยเหลือทางด้านไอทีของมหาวิทยาลัย
7. ตัดข้อมูลสำคัญออกไป
บางคนอาจคิดว่า กิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณทำขณะที่คุณกำลังเรียนอยู่นั้นไม่สลักสำคัญอะไรจึงตัดออกไป แต่จริงๆ แล้วข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญต่อนายจ้างมากกว่าที่คุณคิดเสียอีก เพราะทักษะบางอย่างที่คุณได้จากประสบการณ์เหล่านั้นเช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การบริหารเวลา จะทำให้นายจ้างรู้ว่า คุณเคยเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นมาบ้างแล้ว
8. หน้าตาไม่น่าอ่าน
ถ้าเรซูเม่ของคุณมีแต่ข้อความแน่นเต็มไปหมด ดูแล้วตาลาย อ่านแล้วปวดหัว ก็จะไม่มีใครอยากอ่าน ดังนั้นก่อนจะส่งออกไป ควรเอาไปให้พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูงลองอ่านดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่ถูกทิ้งไป เพราะหน้าตาไม่น่าอ่าน
9. พิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ผิด
เรื่องง่ายๆ ที่ไม่น่าพลาด เพราะหมายเลขโทรศัพท์เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรที่คุณสมัครงานไปสามารถติดต่อกลับมาหาคุณได้ ถึงแม้คุณจะมีความสามารถ และมีประสบการณ์มากมายเพียงใด หากไม่มีใครสามารถติดต่อคุณได้ คุณก็ไม่มีวันได้งานทำ ดังนั้นควรให้เวลากับการตรวจทานเพิ่มอีกนิด ...ช้าแต่ชัวร์จะดีกว่า...
เพื่อให้เรซูเม่ของคุณสมบูรณ์แบบและน่าประทับใจที่สุด พึงระวังข้อผิดพลาดที่กล่าวมานี้ จะได้ไม่เสียโอกาสในการได้งานดีๆ ที่คุณใฝ่ฝัน
ตั้งต้นจากResume
“สาธินี โมกขะเวส” กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางานจ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เว็บไซต์สมัครงานออนไลน์ กล่าวว่า Resumeที่ดีคือเรซูเมที่เตะตาต้องใจ ดูดี และเป็นความจริง บางฉบับไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งผู้มีหน้าที่สัมภาษณ์งาน หรือคนที่อ่านเรซูเมเก่งๆ จะรู้ทันทีว่า นี่เป็นอีกอันที่เป็น “ฟอร์แมต” เขียนตามๆ กันมา ทุกสิ่งทุกอย่างเขียนเรียงลำดับเหมือนกันหมด พลอยทำให้ผู้สมัครรายนั้นๆ หมดความน่าสนใจไปด้วย
“คนที่จะได้งานคือคนที่ทำความเข้าใจกับการเขียน เขียนได้สั้นกระชับ และไปให้ถึงจุดสุดท้ายให้เร็วที่สุด” สาธินี กล่าวอีกว่า
การเขียนเรซูเมเป็นเรื่องของจิตวิทยา จุดมุ่งหมายของเรซูเมคือ การเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่าน คนเขียนต้องรู้ว่าคนอ่านอยากรู้อะไร อ่านแล้วอยากเรียกมาสัมภาษณ์ ถือว่าบรรลุเป้า ส่วนใหญ่มักเขียนกันมาแบบยืดยาว น่าเบื่อ
วิธีเขียนประวัติเพื่อการสมัครงานยุคนี้
อันดับแรกคือ อย่ายาว (ไม่ควรเกิน 12 หน้า) ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากชื่อ นามสกุล ประมาณว่าโสด สูง หน้าตาดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์อยากรู้เป็นอันดับท้ายๆ เรซูเมควรเริ่มต้นจากโพรไฟล์ที่บรรยายความเป็นตัวเอง
1.ประสบการณ์
2.การศึกษา และ
3.ความสามารถ
สิ่งที่เรียกว่าสไตล์
หน้าที่ของเรซูเม คือการเป็นชอร์ตลิสต์หรือข้อความย่อ เพื่อบ่งบอกตัวผู้เขียนให้ได้มากที่สุด การเชื่อมระหว่างเอกสารกับการเป็นตัวตนของคนคนนั้น เรซูเมจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “สไตล์” เพื่อบ่งบอกสไตล์ของผู้เป็นเจ้าของ สไตล์นี้เองที่จะทำให้ใบสมัครแต่ละใบมีความแตกต่าง ยิ่งโดดเด่นก็ยิ่งได้เปรียบ
คำว่า “โดดเด่น” ในที่นี้ หมายถึงสิ่งที่เรียกว่า “Unique Selling Point” ซึ่งแต่ละคนก็แตกต่างกันไป บางคนไม่ได้เรียนเก่งที่สุด หากแต่เรียนรู้เร็ว มีความกระตือรือร้น มีทักษะ และทัศนคติที่ดี ก็ถือเป็นจุดดีที่ “ขาย” ได้ โดยเฉพาะกับองค์กรสมัยใหม่
องค์กรสมัยใหม่ในปัจจุบันต้องการคนที่มีสไตล์ มีบุคลิก มีทัศนคติเชิงบวก ต้องการคนที่สามารถเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของเขาได้ และเติบโตไปพร้อมกับองค์กรของเขาได้ นั่นหมายถึงว่าผู้สมัครต้องทำการบ้าน เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรที่ต้องการสมัครให้มาก องค์กรบางแห่งให้น้ำหนักกับปัจจัยเหล่านี้ ขณะที่คนเก่งแบบวันแมนโชว์กลายเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะเก่งเกินไปแต่ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
เรซูเมสมัยใหม่
การเรียกสัมภาษณ์จะพิจารณาจากเกณฑ์อะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นงานอะไรด้วย เช่น งานเซลส์ แม้จะเขียนแบบเรียงความไม่ได้ดี แต่โดยสายงานอาจมุ่งไปที่การพูดมากกว่าการเขียน อย่างนี้ก็พอไหว ตรงกันข้ามถ้าเป็นงานประเภทเลขานุการ ที่ต้องการความถูกต้อง ละเอียดรัดกุม แต่เรซูเมเขียนมาไม่สวย จัดวางพื้นที่หรือสเปซไม่ดี สะกดผิดๆ ถูกๆ แบบนี้ก็ตกม้าตายตั้งแต่ต้น เช่นเดียวกัน สมัครงานประเภทไอที แต่เรซูเมฟอร์แมตมาแบบเอ็กเซล ก็ตกม้าตายแต่แรกเหมือนกัน
เรซูเมสมัยใหม่ ควรบอกไลฟ์สไตล์ได้นิดหน่อย ได้แก่ งานอดิเรก เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบท่องเที่ยว ชอบเสิร์ชอินเทอร์เน็ต ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อบอกความเป็นตัวเรา แต่ทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎ “ห้ามพล่าม” อย่าใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย ขอให้สั้น ตรง กระชับ รัดกุมดีที่สุด กรณีเป็นเท็มเพลตสำเร็จรูป หรือการสมัครงานตามจ๊อบออนไลน์ก็ใช้ได้เหมือนกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดการเขียนแบบความเรียง
“องค์กรส่วนมากจะชอบเรซูเมที่เขียนขึ้นเอง มากกว่าเรซูเมสำเร็จรูปตามออนไลน์ คำแนะนำคือ ให้เขียนทั้ง 2 แบบ” สาธินี กล่าว
ถัดจากขั้นตอนเรซูเมไปก็คือการสัมภาษณ์ แต่ที่ไม่ควรละเลยคือตอนรับโทรศัพท์เรียกสัมภาษณ์ หลายคนถูกปฏิเสธเพราะตอบรับโทรศัพท์ไม่ดี
ตัวอย่างแย่ๆ มีตั้งแต่น้ำเสียงที่ไม่ประทับใจ เคี้ยวขนมไปพูดไป ถือว่าไม่สุภาพ พูดช้าไป พูดเร็วไป พูดอ่า...ฮะๆ ตลอดเวลา หรือบางคนก็มารยาทไม่ดีมากๆ เมื่อได้รับแจ้งว่าส่งใบสมัครงานมาใช่ไหม ตอบว่า “ใช่ แล้วไงคะ” หรือบางคนก็แสดงความไม่ใส่ใจ “ดูก่อนนะคะ” ถือเป็นวิธีการต่อรองเรื่องวันเวลาที่ทำให้ตัวเองเสียคะแนนมากๆ
“เมื่อได้รับโทรศัพท์เรียกสัมภาษณ์งาน ให้ตอบรับด้วยน้ำเสียงที่แสดงความเอาใจใส่ กระตือรือร้น พูดจาชัดเจน แอ็กทีฟ” สาธินี กล่าว
ผ่านด่านนี้ไปก็ถึงขั้นสัมภาษณ์งาน สูตรมาตรฐานคือ ไปให้ตรงเวลา แต่งกายสุภาพ โดยเฉพาะผู้หญิงต้องเรียบร้อย นั่งแล้วชายกระโปรงต้องคลุมเข่า รองเท้าหุ้มส้นและปลายเท้า พูดจาด้วยภาษาและบุคลิกเสียงที่ดี กิริยามารยาทดี มองหน้าคนสัมภาษณ์ และสำคัญมากคือต้องไม่ลืมปิดโทรศัพท์มือถือเด็ดขาด!
ฤดูกาลหางานของนิสิต/นักศึกษาจบใหม่กำลังจะเริ่มต้น ขอเอาใจช่วยให้ทุกคนโชคดี
การเรียกสัมภาษณ์จะพิจารณาจากเกณฑ์อะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นงานอะไรด้วย เช่น งานเซลส์ แม้จะเขียนแบบเรียงความไม่ได้ดี แต่โดยสายงานอาจมุ่งไปที่การพูดมากกว่าการเขียน อย่างนี้ก็พอไหว ตรงกันข้ามถ้าเป็นงานประเภทเลขานุการ ที่ต้องการความถูกต้อง ละเอียดรัดกุม แต่เรซูเมเขียนมาไม่สวย จัดวางพื้นที่หรือสเปซไม่ดี สะกดผิดๆ ถูกๆ แบบนี้ก็ตกม้าตายตั้งแต่ต้น เช่นเดียวกัน สมัครงานประเภทไอที แต่เรซูเมฟอร์แมตมาแบบเอ็กเซล ก็ตกม้าตายแต่แรกเหมือนกัน
หลายคนรู้จัก เรซูเม่ (Resume) แต่ไม่รู้ว่าเรซูเม่(Resume)ที่ดีเป็นแบบไหน เขียนกันยังไง เรซูเม่(Resume)เป็นเหมือนประเบิกทางที่จะทำให้บริษัทรู้จักกับเราและผนงานของเราในเวลาอันสั้นและรวดเร็ว ก็เช่นเดียวกับการเขียนจดหมายสมัครงานที่เราต้องเขียนสั้นกระชับได้ใจความ เราจะเขียนอย่างไรเรซูเม่(Resume)ถึงจะออกมาดีก็ง่ายมากครับ ดูตัวเรซูเม่(Resume)ของท่านอืนเยอะแล้วปรับใช้กับของเรานะครับ แต่อย่าลืมว่าสั้นกระชับได้ใจความและครอบคุม ดูกันเลยว่าเรซูเม่(Resume)ที่ดีเป็นยังไง
เรซูเม่ที่ดี เป็นอย่างไร
Resume เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้คุณได้งานทำได้ ไม่ว่าจะเลิศเลอสักแค่ไหน แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ Resume เรซูเม่ที่ดี จะช่วยดึงดูดความสนใจจากนายจ้างได้ เพราะจุดประสงค์ของ Resume ก็คือการทำให้ "ผลงานของคุณ" กับ "คุณสมบัติที่ว่าที่นายจ้างต้องการ" ใกล้เคียงกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพราะถ้านายจ้างได้อ่านแล้ว เกิดชอบใจขึ้นมา ก็จะติดต่อนัดหมายคุณเพื่อสัมภาษณ์งาน
Resume ก็เหมือน "แผ่นพับ" แผ่นเล็กที่จะช่วยโปรโมทคุณ ดังนั้นคุณต้อง "แสดง" ให้ว่าที่นายจ้างของคุณ เห็นว่าคุณมีผลงานยอดเยี่ยมแค่ไหน และมีประสบการณ์อะไรบ้าง กลยุทธ์ที่คุณควรนำมาใช้คือการเน้นการบรรยายประสบการณ์และทักษะ ที่คาดว่านายจ้างกำลังมองหาอยู่พอดี
Resume ยังเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงทักษะ ในการสื่อสารและการจัดระบบของตัวคุณเอง Resume ที่ดี จะเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่จะทำให้ว่าที่นายจ้างของคุณ รู้ว่าคุณจะเป็นลูกจ้าง ที่มีค่ามากแค่ไหน ในทำนองเดียวกัน Resume ที่ทำอย่างลวกๆ สุกเอาเผากินจะทำให้คุณหลุดออกจาก "ลู่วิ่ง" ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้นเลยด้วยซ้ำ
มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ Resume และการเขียน Resume ซึ่งบางครั้งก็อาจจะขัดแย้งกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้ว ก็ล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น
ข้อผิดพลาดในการเขียนเรซูเม่ที่ควรหลีกเลี่ยง
เรซูเม่ เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความประทับใจให้แก่นายจ้าง เวลาที่คุณสมัครงานแล้วไม่มีใครติดต่อกลับมา นั่นอาจเป็นเพราะเรซูเม่ของคุณยังไม่น่าประทับใจมากพอ ซึ่งอาจเกิดได้จากข้อผิดพลาดต่างๆ ดังนั้นจึงควรสำรวจตัวเองว่าการเขียนเรซูเม่ของคุณมีข้อผิดพลาดดังต่อไปนี้หรือไม่
1. เขียนหรือสะกดคำผิด
ในการเขียนเรซูเม่นั้น ไม่ควรปล่อยให้มีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนผิดไวยากรณ์หรือการสะกดคำผิด เพราะเมื่อนายจ้างอ่านไปเจอคำผิด เขาจะสรุปว่าคุณ “เขียนไม่เป็น” หรือไม่คุณก็เป็นคนที่ “ไม่เอาใจใส่ใจๆ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสมัครงานคุณมีเวลาเต็มที่ในการสร้างสรรค์เรซูเม่ให้สมบูรณ์แบบและน่าสนใจที่สุด เพราะคุณไม่ได้กำลังนั่งทำข้อสอบที่จำกัดเวลาในการทำ เรซูเม่ของคุณจะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความประทับใจให้แก่นายจ้าง ดังนั้นคุณจำเป็นต้องตรวจทานอย่างรอบคอบก่อนจะส่งเรซูเม่ออกไป
2. ขาดความเฉพาะเจาะจง
นายจ้างต้องการทราบว่า คุณจะสามารถทำอะไรให้องค์กรได้บ้าง ดังนั้นในการแนะนำตัวของคุณ ต้องระบุประสบการณ์ที่มีประโยชน์ต่อองค์กรด้วย การระบุรายละเอียดลงไปให้ชัดเจน แสดงว่าคุณเข้าใจในงานที่คุณสมัคร ซึ่งจะทำให้คุณมีความโดดเด่นแตกต่างจากคนที่เขียนแบบกลางๆ เช่น
นาย ก. ระบุว่าเคยทำงานกับลูกจ้างในภัตตาคาร
ส่วนนาย ข. ระบุว่าเคยทำหน้าที่สรรหา ว่าจ้าง ฝึกอบรม และดูแลลูกจ้างกว่า 20 คน ในภัตตาคารที่ทำรายได้กว่า 20 ล้านบาทต่อปี
จากตัวอย่างข้างต้น เรซูเม่ของนาย ก. หรือนาย ข. ที่จะจับความสนใจของนายจ้างได้ดีกว่ากัน
3. เขียนครั้งเดียวแต่ส่งไปทุกที่
เมื่อไรก็ตามที่คุณเขียนเรซูเม่แบบเขียนครั้งเดียวแล้วส่งไปทุกที่ เมื่อนั้นรู้ได้เลยว่าเรซูเม่ของคุณจะต้องลงไปนอนกองในถังขยะรวมกับเรซูเม่อีกจำนวนมากที่เขียนแบบเดียวกับคุณ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เรซูเม่ที่เขียนครั้งเดียวจะเหมาะกับทุกองค์กร นายจ้างต้องการเรซูเม่ที่ผู้เขียนตั้งใจที่จะสมัครงานกับองค์กรของเขาอย่างแท้จริง ซึ่งคุณต้องทำให้นายจ้างเห็นว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งดังกล่าวอย่างไร และเพราะอะไร
4. เขียนยาวหรือสั้นเกินไป
โดยทั่วไปแล้วความยาวของเรซูเม่ไม่ควรเกิน 2 หน้า แต่ถ้าคุณเพิ่งเรียนจบ ประวัติของคุณอาจจะไม่ยาวนัก และสามารถอยู่ได้ภายใน 1 หน้า ก็ไม่ต้องพยายามทำให้ได้ 2 หน้า หรือหากคุณมีประสบการณ์มากมาย ก็ไม่จำเป็นต้องตัดส่วนที่สำคัญออกเพื่อให้เรซูเม่ของคุณอยู่ได้ภายใน 1 หน้าตามมาตรฐานแต่อย่างใด
5. ตั้งเป้าหมายเพื่อตัวเอง
บ่อยครั้งที่นายจ้างอ่านวัตถุประสงค์ในการสมัครงานแล้วพบข้อความ เช่น คุณต้องการงานที่ท้าทายและมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งนายจ้างจะรู้สึกว่าคุณไม่ได้มีเป้าหมายที่จะทำให้องค์กรของเขาก้าวหน้า แต่คุณต้องการเพียงให้ตัวคุณมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จะดีกว่าถ้าคุณระบุเป้าหมายให้ตอบโจทย์ความต้องการทั้งขององค์กรและของตัวคุณเอง เช่น คุณต้องการงานที่ท้าทายสำหรับนักศึกษาจบใหม่ที่จะทำให้คุณได้ใช้ทักษะและประสบการณ์ในการระดมทุนให้แก่องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
6. ไม่ใช้กริยาที่บอกการกระทำ
หลายต่อหลายคนชอบเขียนเป็นวลี เช่น responsible for แทนที่จะใช้ คำกริยาที่บอกการกระทำ เช่น ตอบคำถามให้แก่นักศึกษาจำนวน 4,000 คน ในฐานะส่วนหนึ่งของทีมผู้ช่วยเหลือทางด้านไอทีของมหาวิทยาลัย
7. ตัดข้อมูลสำคัญออกไป
บางคนอาจคิดว่า กิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณทำขณะที่คุณกำลังเรียนอยู่นั้นไม่สลักสำคัญอะไรจึงตัดออกไป แต่จริงๆ แล้วข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญต่อนายจ้างมากกว่าที่คุณคิดเสียอีก เพราะทักษะบางอย่างที่คุณได้จากประสบการณ์เหล่านั้นเช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การบริหารเวลา จะทำให้นายจ้างรู้ว่า คุณเคยเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นมาบ้างแล้ว
8. หน้าตาไม่น่าอ่าน
ถ้าเรซูเม่ของคุณมีแต่ข้อความแน่นเต็มไปหมด ดูแล้วตาลาย อ่านแล้วปวดหัว ก็จะไม่มีใครอยากอ่าน ดังนั้นก่อนจะส่งออกไป ควรเอาไปให้พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูงลองอ่านดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่ถูกทิ้งไป เพราะหน้าตาไม่น่าอ่าน
9. พิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ผิด
เรื่องง่ายๆ ที่ไม่น่าพลาด เพราะหมายเลขโทรศัพท์เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรที่คุณสมัครงานไปสามารถติดต่อกลับมาหาคุณได้ ถึงแม้คุณจะมีความสามารถ และมีประสบการณ์มากมายเพียงใด หากไม่มีใครสามารถติดต่อคุณได้ คุณก็ไม่มีวันได้งานทำ ดังนั้นควรให้เวลากับการตรวจทานเพิ่มอีกนิด ...ช้าแต่ชัวร์จะดีกว่า...
เพื่อให้เรซูเม่ของคุณสมบูรณ์แบบและน่าประทับใจที่สุด พึงระวังข้อผิดพลาดที่กล่าวมานี้ จะได้ไม่เสียโอกาสในการได้งานดีๆ ที่คุณใฝ่ฝัน