ชื่ออาชีพ ทนายความ Lawyers
นิยามอาชีพ
และทำแทนลูกความในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย ดำเนินการฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลในนามของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ทนายความเป็นอาชีพหนึ่งของนักกฎหมาย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการยุติธรรมอันประกอบด้วย ศาล อัยการ ตำรวจ และราชทัณฑ์
ลักษณะของงานที่ทำ
ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย และดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญา และแพ่ง
ตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ และค้นตัวบทกฎหมายที่จะนำมาใช้โดยการศึกษาประมวลกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ คำพิพากษาของศาลสูงที่มีมาแล้ว และกฎข้อ-บังคับที่ตราขึ้นไว้
ให้คำแนะนำแก่ลูกความถึงสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมาย
ทำการแทนลูกความในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย และค้นหาบรรพต่างๆ ในประมวลกฎหมาย
ว่าความ และดำเนินกระบวนการพิจารณาใดๆ ในศาลแทนคู่ความทั้งในคดีแพ่ง และคดีอาญา มีบทบาทในการสร้าง และรักษาความเป็นธรรมให้กับสังคม
มีบทบาทในการคุ้มครอง ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบุคคล และองค์กรธุรกิจเอกชนต่าง ๆ
มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำ ในการดำเนินการต่างๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบ และกฎหมาย
มีบทบาทเป็นคนกลางเพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ด้วย
อาจเชี่ยวชาญในงานกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ
อาจเป็นทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมายประจำองค์กร บรรษัท ห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล คณะบุคคล หรือเอกชน
สภาพการจ้างงาน
โดยอาจได้รับค่าตอบแทนจากการว่าความ ร้อยละ 10 - 20 ของทุนทรัพย์ในคดีนั้นๆ หรืออาจจะได้รับค่าตอบแทนตามแต่จะตกลงกับลูกความ ซึ่งอาจจะได้รับค่าว่าความ 20,000-100,000 บาทขึ้นไปแล้วแต่งานที่รับ และขนาดของทุน-ทรัพย์ในแต่ละคดี
สภาพการทำงาน
ทำงานในสำนักงานมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเช่นสำนักงานทั่วไป มีอุปกรณ์ช่วยในการจัดการงานเอกสาร เช่น เครื่องพิมพ์ดีด หรือคอมพิวเตอร์ บางครั้งต้องออกไปติดต่อประสานงานนอก สำนักงาน เช่น ศาล สถานีตำรวจ สถานที่อื่นๆ เพื่อปฏิบัติภาระกิจทนายความตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่การทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องปกติในทนายความ-Lawyers อาจจะต้องมาทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด
การทำงานของทนายความ เป็นงานที่ต้องมีผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายอันเนื่องมาจากลักษณะงาน การฟ้องร้องระหว่างคู่คดีอาจสร้างความไม่พอใจให้อีกฝ่าย หรืองานในหน้าที่อาจจะทำให้ผู้อื่นเสียผลประโยชน์ ทำให้เกิดความโกรธแค้น และอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายและชีวิตได้ ผู้เป็นทนายความควรที่จะจัดให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย มีความ ซื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่ไม่ใช้ความรู้ในอาชีพเอาเปรียบ หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพทนายความจะต้องมี คุณสมบัติดังต่อไปนี้
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์
- ต้องขอจดทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความ
- มีสัญชาติไทย
- อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และรับในอนุญาต
- ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศิลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
- ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
- ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย
- ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม
- ไม่เป็นผู้มีกายพิการ หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ
- ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเงินเดือน และตำแหน่งประจำเว้นแต่ ข้าราชการการเมือง
- ต้องซื่อตรงต่อลูกความ ผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วมสำนักงาน และตนเอง
มีความสนใจในด้านกฎหมาย กระบวนการยุติ-ธรรม และต้องชอบที่จะท่องจำเพราะวิชานิติศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องท่องจำมาก เช่น กฎระเบียบ มาตราต่างๆ เป็นต้น
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ต้องสอบเข้ารับการคัดเลือก หรือเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาซึ่ง สภาทนายความเห็นว่าสถาบันนั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้ และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าต้องเข้ารับการอบรมจากสภาทนายความ โดยอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตร 6 เดือน และอบรมภาคปฏิบัติ หลักสูตร 6 เดือน จึงสมัครเข้าสอบขอ ใบอนุญาตว่าความผ่านการทดสอบจะได้รับใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักรจากสภาทนายความ
โอกาสในการมีงานทำ
ทนายความมีคดีว่าความมากขึ้นเนื่องจากจะมีคดีฟ้องร้องในเรื่องการค้างชำระหนี้มากขึ้นแต่รายได้จาก การว่าความจะไม่ค่อยมากนักเนื่องจากฝ่ายจำเลยไม่สามารถชำระค่าเสียหายได้ จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจอย่างไร ความต้องการแรงงานในอาชีพมีอยู่ตลอด ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญความเก่ง และชื่อเสียงของทนายความแต่ละคนด้วย
นอกจากนี้ทนายความอิสระบางคนอาจจะรับทำงานสืบสวนให้บุคคลที่ต้องการให้สืบสวนหรือติดตามสิ่งของ หรือบุคคลที่ต้องการค้นหา
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
อาชีพทนายความนี้ นอกจากจะประกอบอาชีพเป็นทนายความแล้วยังสามารถเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงาน เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของหน่วยงาน เป็นพนักงานอัยการ และก้าวไปสู่การเป็นผู้พิพากษาก็ได้และนอกจากนี้อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีความชำนาญทางกฎหมายเป็นพิเศษ จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับอาชีพอื่นได้มากมาย เช่น นักการเมือง ทหารตำรวจ เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่การเงิน หรือครู อาจารย์เป็นต้น
ทนายความที่มีความสามารถ และมีความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างดี อาจได้รับการว่าจ้างให้เป็นทนายความว่าความในต่างประเทศ หรืออาจเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการเจรจาทางด้านกฎหมาย หรือสิทธิประโยชน์ของประเทศ
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
www.lawyerscouncil.or.th
กระทรวงยุติธรรม
www.moj.go.th
รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในสาขานิติศาสตร์ | ||||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัย | คณะหรือประเภทวิชาที่เปิดสอน | |||||||||||||||||||||
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะนิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะนิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | คณะนิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยทักษิณ | คณะนิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | คณะนิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยนเรศวร | คณะนิติศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยพะเยา | คณะนิติศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยพะเยา | คณะนิติศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตร์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (คู่ขนาน) | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สาขาวิชา น.บ.นิติศาสตร์ และ ศศ.บ.สิทธิมนุษยชนศึกษา(หลักสูตรคู่ขนาน 5 ปี) | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | สํานักวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | คณะนิติศาสตร์ หาดใหญ่ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา | คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||