ชื่ออาชีพ ทันตแพทย์ Dentist
นิยามอาชีพ
ลักษณะของงานที่ทำ
สภาพการจ้างงาน
ทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนเทียบเท่าวุฒิปริญญาตรีทั่วไป อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้ และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ไม่มีประสบการณ์จะมีรายได้โดยประมาณ ดังนี้
ระดับการศึกษา/หน่วยงาน | ราชการ | เอกชน |
ปริญญาตรี | 15,000+ | 30,000+ |
ปริญญาโท | 17,500+ | 30,000+ |
ปริญญาเอก | 21,000+ | 30,000+ |
ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อาจจะต้องมี การจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้ว ผู้ทำงานกับภาครัฐจะได้รับ สวัสดิการตามระเบียบของทางราชการ ส่วนผู้ที่ทำงานในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์อย่างอื่นมากกว่าภาคราชการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการในรูปต่างๆ เงินประกันสังคม เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จทันตแพทย์ที่มีเงินทุนสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวด้วยการเปิดคลีนิครักษาฟัน มีรายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ
สภาพการทำงาน
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางทันตแพทย์
- มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
- มีความรู้ในการค้นและการประดิษฐ์
- มีสุขภาพแข็งแรง บุคลิกดี รู้หลักจิตวิทยา คล่องแคล่ว พูดจาเก่ง
- มีฐานะทางการเงินดีพอสมควร
- มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น
เมื่อสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า และสามารถสอบผ่านวิชาต่างๆ ในการ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนการสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย หลักสูตรวิชาทันตแพทย์ระดับปริญญาตรีตามปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี โดยมีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการแพทย์ระดับปริญญาหลาย เช่นมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
เมื่อครบหลักสูตรแล้วต้องสอบใบอนุญาตประกอบเวชกรรมของทันตแพทยสภา มีสิทธิประกอบอาชีพทันตแพทย์ได้ ตามกฎหมาย
โอกาสในการมีงานทำ
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ถ้ารับราชการต่อไปก็จะได้รับการเลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่งตามระเบียบของทางราชการ เช่น เป็นหัวหน้าภาควิชา เป็นต้น
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
www.thaidental.net
ทันตแพทยสภา
www.dentalcouncil.or.th
รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในสาขาทันตแพทยศาสตร์ |
||||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัย |
คณะหรือประเภทวิชาที่เปิดสอน |
|||||||||||||||||||||
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยนเรศวร |
คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยมหิดล |
คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ. 6 ปี) สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
คณะทันตแพทยศาสตร์ หาดใหญ่ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยรังสิต |
คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น |
คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|||||||||||||||||||||