ดีเจ D.J. (Disc Jockey) | Future Career Guide

ดีเจ D.J. (Disc Jockey)




ชื่ออาชีพ นักจัดรายการวิทยุ, ดีเจ D.J. (Disc Jockey)

นิยามอาชีพ

นักจัดรายการวิทยุเป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการ รายการเผยแพร่ความรู้ ความบันเทิง หรือสารคดีแก่ผู้ฟังทางสถานีวิทยุกระจายเสียง

ลักษณะของงานที่ทำ

นักจัดรายการวิทยุ หรือ(ดีเจ ซึ่งย่อมาจาก Disc Jockey หมายถึงผู้จัดรายการเพลงประกอบความรู้เกี่ยวกับเพลงหรือเรื่องอื่นๆ ซึ่งอยู่ในความสนใจของผู้ฟัง ในสถานที่ฟังเพลง) ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถตรงกับรายการที่จัดและ ตรงกับนโยบายของสถานีวิทยุกระจายเสียงและจัดรายการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้ทำงานทั่วไป นักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้าน เกษตรกร ผู้สูงวัย หรือ ชุมชนท้องถิ่น

นักจัดรายการวิทยุควรศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเพลงที่จะเปิดให้ผู้ฟัง ตลอดจนความรู้เรื่องอื่นๆ ที่จะนำมาใช้ประกอบการเปิดเพลง เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน ซึ่งควรจะตรงกับกลุ่มผู้ฟังเช่น กลุ่มผู้ฟังเป็นเกษตร ก็ควรให้ความรู้ทางการเกษตร เพื่อให้กลุ่มผู้ฟังได้เป็นสมาชิกถาวรติดตาม รายการตลอดไป

รายการที่จัดอาจเป็นรายการที่มีกำหนดเวลาแน่นอนหรือเป็นรายการที่ให้บริการตลอดวัน เช่น รายการกรีนเวฟ หรือรายการอยู่เป็นเพื่อนคุยกับนักศึกษาที่ดูหนังสือดึกๆ หรือรายการโชว์ดึก โดยมีหัวข้อคุยเป็นประเด็นเรื่องราวตามกระแสเหตุการณ์บ้านเมืองและโลกแทรกไว้ในรายการ หรือรายการเพื่อสุขภาพ รายการเพื่อผู้บริโภค รายการเพื่อการศึกษา การทบทวนข้อสอบของนักเรียนเพื่อเตรียม สอบเอ็นทรานซ์ การตอบปัญหาสุขภาพจิตสำหรับผู้ฟังที่มีปัญหาคับข้องใจ

หรืออาจเป็นรายการสายด่วน เพื่อช่วยเหลือความเดือดร้อน โดยนักจัดรายการวิทยุจะเปิดเพลง สลับการให้ความรู้หรือการตอบปัญหา หรือสนทนากับสมาชิกที่เป็นผู้ฟังตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อมิให้เกิดความเบื่อหน่ายแก่บุคคลทั่วไป

นักจัดรายการหรือดีเจที่ได้รับความสนใจ ในปัจจุบัน มักจะเป็นดีเจที่จัดรายการให้กลุ่มนักเรียน และนักศึกษาวัยรุ่น โดยให้ความรู้ทั่วไป สลับกับการเปิดเพลงประกอบหรือรายการบันเทิงหรือเป็นรายการเพลงล้วน ๆ

สภาพการจ้างงาน

นักจัดรายการ วิทยุอาจเป็นพนักงานประจำองค์กร หรือเป็นนักจัดรายการวิทยุอิสระซึ่ง สามารถบริหารการจัดเวลาไปเป็นนักจัดรายการให้สถานีอื่นได้ด้วยเช่นกัน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยทั่วไปคิดเป็น รายชั่วโมง ตั้งแต่ชั่วโมงละ 200 บาทจนถึงชัวโมงละ 1,500 บาท อาจทำงานวันละ 3 ชั่วโมง หรือทำงาน ประมาณเดือนละ 20 วัน มีสวัสดิการ และประกันสุขภาพ

นักจัดรายการวิทยุอิสระจะต้องมีเงินทุนในการซื้อเวลาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงตามอัตรา ที่กำหนด หรือตามแต่จะตกลงกัน ซึ่งรายได้ที่ได้รับอาจได้จากการติดต่อขอค่าโฆษณาจากบริษัทห้างร้าน เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ สลับในรายการ หรืออาจจะได้รับการว่าจ้างจากบริษัทห้างร้านโดยตรงก็ได้ โดยการให้ค่าตอบแทนการทำงานตามแต่จะตกลงกัน โดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 12,000 บาท

สภาพการทำงาน

นักจัดรายการวิทยุจะทำงานตามกำหนดเวลา ที่ระบุไว้ในผังรายการของสถานีวิทยุหรืออาจจะทำงานเป็นช่วงเวลาเพื่อบริการกลุ่มเป้าหมาย

นักจัดรายการส่วนมากจะจัดรายการครั้งละประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง หรือสลับกับนักจัดรายการ ผู้อื่นในรายการเดียวกัน ซึ่งอาจมีผู้ช่วยรายการอีก 1 - 2 คน ช่วยตอบคำถามหรือโต้ตอบกับสมาชิกเพื่อ ให้เกิดมุมมอง และอรรถรสที่แตกต่างไปจากรายการอื่น ๆ

นักจัดรายการวิทยุทำงานในสถานที่ที่มีบรรยากาศที่ดี พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการทำงานที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น เทปเพลง อุปกรณ์การเล่นเทป ไมโครโฟน หูฟัง เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

ผู้ประกอบนักจัดรายการวิทยุ-ดีเจ-D-J-Disc-Jockeyควรมีคุณสมบัติดังนี้
  • สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จนถึงปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงหรือสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • มีประกาศนียบัตรผู้ประกาศจากกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับการฝึกอบรมจากสมาคมวิทยุ โทรทัศน์ แห่งประเทศไทย และผ่านการสอบได้รับประกาศนียบัตร ผู้ประกาศจากกรมประชาสัมพันธ์ โดยสมัครสอบด้วยตนเอง หรือผ่านสถาบันการศึกษาที่สังกัดอยู่
  • มีความสามารถเขียนบทวิทยุด้วยตนเอง
  • ต้องเป็นผู้ที่ออกเสียงควบกล้ำในภาษาไทยได้ชัดเจน มีน้ำเสียงน่าฟัง สุภาพ
  • ต้องมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และมีความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างดี
ผู้ที่จะประกอบนักจัดรายการวิทยุ-ดีเจ-D-J-Disc-Jockey ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ คือ : 
สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้อง ถ้าจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ไม่ตรงตามวิชาชีพก็ควรสมัครสอบเพื่อได้รับประกาศนียบัตร ผู้ประกาศจากกรมประชาสัมพันธ์ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนชอบพูดคุย ชอบค้นคว้าหาความรู้ทั่วไป และมีอารมณ์ดี เป็นผู้รับฟังที่ดี เมื่อมีผู้สอบถามเข้ามาทางโทรศัพท์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนะคติที่ดี มีความสามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา เฉพาะหน้าได้ เมื่อมีสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในการออกอากาศ และเป็นผู้มีระเบียบวินัยในการเตรียม รายการล่วงหน้า

โอกาสในการมีงานทำ

ปัจจุบัน นโยบายขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีวิทยุชุมชน ความต้องการ นักจัดรายการของสถานีวิทยุ จึงกระจายไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งภาค AM และ FM

นอกจากนี้บริษัทและองค์กรเอกชนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสื่อโฆษณาทางวิทยุและโทรทัศน์ ธุรกิจการบันเทิง หรือมูลนิธิต่างๆเป็นผู้รับเช่าช่วงเวลาสถานีจากหน่วยงานราชการ สถานีวิทยุของมหาวิทยาลัย เพื่อนำมาจัดดำเนินการและเผยแพร่รายการ ใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเอง ให้ครบวงจร

ทั้งนี้ผู้เช่าช่วงสถานีต้องจัดทำผังรายการภายใต้กรอบนโยบาย และวัตถุประสงค์ของเจ้าของสถานี เช่น บริษัทผลิตเทปเพลง บริษัทจัดฉายภาพยนตร์จากทั้งในและต่างประเทศ หรือการให้บริการสังคมอย่าง เช่น สถานีวิทยุรายการ จ.ส. 100 รายการร่วมด้วยช่วยกัน เป็นต้น ทำให้มีการจ้างงาน ในนักจัดรายการวิทยุ-ดีเจ-D-J-Disc-Jockeyเพิ่มขึ้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

นักจัดรายการวิทยุหรือดีเจในบางรายการเป็นทั้งผู้จัดรายการ และเป็นผู้หาโฆษณาสินค้า เพื่อสนับสนุนรายการของตนเอง อาจพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถเป็นผู้เขียนบทวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นนักเขียน เพราะจากการจัดรายการจะมีข้อมูลที่สะสมไว้ใช้ในการทำงานอาชีพที่เกี่ยวข้องได้เป็นจำนวนมากตำแหน่งอาจไม่มีการเลื่อนขึ้นแต่มีรายได้มากขึ้นและมีชื่อเสียงมากขึ้น

นักจัดรายการวิทยุ-ดีเจ-D-J-Disc-Jockeyจัดว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางด้านความคิดต่อผู้ฟังมาก ดังนั้นจึงสามารถที่จะโน้มน้าวประชาชน ให้เกิดความสนใจ และสั่งซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ดังนั้น จึงอาจมีรายการวิทยุเป็นของตนเอง หรือสามารถเป็น ผู้ผลิตรายการวิทยุ รายการต่างๆ เพื่อป้อนให้กับ ผู้เช่าช่วงสถานี

ปัจจุบัน เจ้าของสินค้าเห็นความสำคัญถึงสื่อโฆษณาทางวิทยุ เนื่องจากวิทยุเป็นสื่อที่สามารถ พกพาไปได้ทุกแห่งหน และเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย การโฆษณาสินค้าโดยผ่านรายการทางสถานีวิทยุ จึงสามารถเพิ่มยอดขายได้ ดังนั้น อาชีพนักจัดรายการจึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจจะใช้เป็นงานประจำ หรือเป็นอาชีพเสริม

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง

นักจัดรายการวิทยุอาจเปลี่ยนอาชีพเป็น นักจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย พิธีกรโทรทัศน์ และพิธีกรเวทีการแสดง นักพากย์บทภาพยนตร์ นักพากย์ อัดเสียงการโฆษณาสินค้าทางวิทยุหรือโทรทัศน์ นักเขียน นักจัดรายการเวทีเพลง หรือพิธีกรทางเคเบิ้ลทีวี นักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ มีนักจัดรายการหลายคนที่มีอาชีพประจำอย่างอื่น เช่น นักวิชาการ - อาจารย์มหาวิทยาลัย นักข่าว ผลิตสารคดีทั้งทางสถานีวิทยุ และโทรทัศน์ ฯลฯ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ

กรมประชาสัมพันธ์


รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในคณะที่คุณเลือกมีดังต่อไปนี้
มหาวิทยาลัย
คณะหรือประเภทวิชาที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาเอกเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง (รูปแบบที่ 1)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะวิทยาการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ วิชาเอกวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (วิทยุกระจายเสียง)

Related Articels


Copyright © 2011 Future Career อาชีพที่ใฝ่ฝัน | จบไปทำอะไร เรียนอะไรบ้าง ทำงานอะไรบ้าง เงินเดือนดีไหม ที่ไหนเปิดสอนบ้าง | Designed by 4x100Utd