ชื่ออาชีพ ช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์ Electrical, Electronic Engineering Technicians
นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians ได้แก่ ผู้ทำงานทางเทคนิคภายใต้การแนะนำ และควบคุมของวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือทำงานทางเทคนิคไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการพัฒนา การติดตั้ง และการใช้ระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
รวมถึงการตรวจสอบปรากฏการณ์ทางไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และในโรงงาน ซึ่งเป็นงานที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติขั้นสูงพอที่จะสามารถออกแบบพัฒนา หรือแก้ไขการทำงานผิดปกติของระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาจควบคุมช่างและคนงานอื่นๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการสร้างติดตั้ง และซ่อมระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
ลักษณะของงานที่ทำ
ทำงานทางเทคนิคภายใต้การแนะนำ และควบคุมของวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ทฤษฎีอิเล็กทรอนิกส์หลัก ของวงจรไฟฟ้า วิธีการทดสอบไฟฟ้า คณิตศาสตร์ทางวิศวกรรม และวิชาการที่เกี่ยวข้องกันมาใช้ผลิต ก่อสร้าง ติดตั้ง ทดสอบการใช้ และการบำรุงรักษาการพัฒนา การแก้ไขเปลี่ยนแปลง และการซ่อมระบบอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ
ปฏิบัติงานหลักมูลฐานเช่นเดียวกับช่างเทคนิคไฟฟ้า แต่ชำนาญงานเกี่ยวกับระบบโทรคมนาคม อุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ อาจชำนาญงานโทรคมนาคมระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรืองานอีเล็กทรอนิกส์ สาขาอื่นๆ และอาจมีชื่อเรียกตามงานที่ทำ ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะงานได้ ดังนี้
- เป็นนักวิชาการหรือช่างเทคนิคที่ปฏิบัติงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่งานอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ งานระบบสื่อสารวิทยุ
- บำรุงรักษา และตรวจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องระบบสื่อสาร
- ควบคุมเครื่อง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อสารโทรคมนาคมด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง และเฉพาะงาน
- วิเคราะห์ วางแผน ควบคุม โครงงานทางด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการประเมินผลงาน และการเขียนรายงานได้อย่างเป็นระบบ
- เป็นผู้ประสานงานระหว่างวิศวกร และช่างฝีมือในการสั่งการ การควบคุมการตรวจสอบ และวิเคราะห์ปัญหาในงานอิเล็กทรอนิกส์
- ตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วน หรือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์จากงานการผลิต ก่อนนำบรรจุส่ง ออกตลาด
สภาพการจ้างงาน
ช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือทำงานส่วนตัวและกับหน่วยงานในองค์กรเอกชนอื่นๆ เช่น สถานประกอบการต่างๆ โรงงานผลิตวิทยุ โทรทัศน์ โรงงาน อุตสาหกรรมทั่วไป ที่ต้องใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์สายการบิน การเดินเรือทะเล เป็นต้น ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้
ประเภทองค์กร | วุฒิการศึกษา | อัตราเงินเดือน |
ราชการ | ประโยควิชาชีพ (ปวช.) | 9,000 - 9,900 |
ประโยควิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) | 10,500 - 11,550 | |
เอกชน | ประโยควิชาชีพ (ปวช.) | 8,000- 12,000 |
ประโยควิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) | 8,000 - 12,000 |
อัตราเงินเดือนของผู้ประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansในภาคเอกชนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความสามารถ และความชำนาญงาน
นอกจากค่าตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วอาจได้รับค่าตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส ค่าล่วงเวลา เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการทำงาน เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansทำงานวันละ 8-9 ชั่วโมง อาจทำงานล่วงเวลา วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดตามความจำเป็นเร่งด่วน
สภาพการทำงาน
ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansทำงานทั้งใน และนอกสถานที่ทำงานในการตรวจ ซ่อม และบริการระบบควบคุมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในงานอุตสาหกรรมสภาพการทำงานหนักปานกลาง
ต้องใช้ความอดทนต่อสภาพความร้อนเสียง กลิ่น ของสารเคมี ทำความสะอาดอุปกรณ์ และบางโอกาสทำงานตามลำพัง ต้องใช้ความระมัดระวัง และรอบคอบสูงพอสมควร เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และบางครั้งต้องทำงานเกินเวลาสำหรับผู้ประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians ที่ทำงาน ในการวิเคราะห์ วางแผน หรือตรวจสอบคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์อาจจะทำงานในห้องทดลอง ซึ่งจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับการทดลอง หรือทดสอบ ต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบสูงเนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการทดสอบหากไม่ระมัดระวังโอกาสที่จะประสบปัญหาไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช๊อตเป็นไปได้สูง อาจจะต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
คุณสมบัติของช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
- สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่องานอาชีพ
- เป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ คล่องแคล่ว ว่องไว ช่างสังเกต หูรับฟังได้ดี ตาดีไม่บอดสี มือและสมองสามารถทำงานพร้อมกันได้ตลอด เวลา
- มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร สามารถทำงานกลางแจ้ง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบการคิดคำนวณ มีความละเอียดรอบคอบ
- มีความมั่นใจในตนเองสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
- มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบ วินัย
- เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยดำรงตนอยู่บนพื้นฐานแห่งคุณธรรม และกฎหมาย มีความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเข้าศึกษาต่อ
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้าหลักสูตร 3 ปี สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถสมัครงานประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansหรือเข้าศึกษาต่อ
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หลักสูตร 2 ปี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา หรือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลหรือสาขาวิชาไฟฟ้าในวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สำหรับแรงงานใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปฝึกใน สพร. หรือ ศพจ. 10 เดือน และฝึกในสถานประกอบการอีก 2 เดือนรวมระยะเวลาฝึกทั้งหมด 12 เดือน จึงจะได้รับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพร.) แนวการฝึกเน้นภาคปฏิบัติ 70% ความรู้ความสามารถที่ผู้รับการฝึกจะได้รับจากการฝึกได้แก่ ไฟฟ้าโรงงาน เครื่องมือทดสอบและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระบบดิจิตอลและไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องจ่ายไฟ และเครื่องควบคุมระบบควบคุมเรียงลำดับ ความปลอดภัยในการทำงาน และโครงงานอิเล็กทรอนิกส์
โอกาสในการมีงานทำ
พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และผลิตภัณฑ์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป เช่น วิทยุ โทรทัศน์ระบบการสื่อสารเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการประกอบช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนา และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งาน
จึงนับได้ว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านนี้ จะยังมีตลาดแรงงานรองรับอยู่ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีการหยุดชะงักทางด้านเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ก็ตามแต่ความจำเป็นในการพัฒนาทางอิเล็กทรอนิกส์คงมีความสำคัญสูงที่จะต้องพัฒนาต่อไป
ช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเลือกทำงานได้ทั้งประกอบอาชีพอิสระ เช่น รับซ่อมอุปกรณ์หรือระบบไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รับราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือเป็นลูกจ้างของสถานประกอบกิจการทั่วไป เป็นต้น
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ที่รับราชการ หรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจะเลื่อนขั้นเงินเดือน และตำแหน่งตามกฎระเบียบที่วางไว้ส่วนงานเอกชนนั้นเมื่อระยะเวลากทำงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความสามารถและชำนาญงานก็จะได้เลื่อนตำแหน่ง งานและเงินเดือนสูงขึ้นตาความสามารถและประสบการณ์นอกจากนี้ยังสามารถหารายได้พิเศษ โดยรับซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นโทรทัศน์ วิทยุ
ผู้มีพื้นฐานช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Technicians สามารถฝึกเพิ่มเติมฝีมือในหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือในสถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงาน ช่างเทคนิคอิเลกทรอนิกส์-Electrical-Electronic-Engineering-Techniciansเป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการมาก เนื่องจากกระบวนการทำงาน และกระบวนการผลิตจะเปลี่ยนไปในทางการควบคุมแบบอัตโนมัติซึ่งต้องใช้การควบคุมที่แน่นอน และแม่นยำจึงต้องอาศัยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปช่วยในการควบคุม
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
พนักงานขาย ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมไฟฟ้า ช่างเครื่องกล ช่างซ่อมวิทยุ ช่างซ่อมโทรทัศน์ หัวหน้าควบคุมการทำงาน ช่างเทคนิค พนักงานควบคุมการทำงานเครื่องจักร ช่างซ่อมเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม