ชื่ออาชีพ ผู้นำของเข้าหรือส่งออก ตัวแทนออกของ ชิปปิ้ง Clerk (Dispatching and receiving); Shipping Officer
นิยามอาชีพ
ผู้ควบคุม หรือทำงาน หรือร่วมทำงานนำเข้าและส่งออกสินค้า และบันทึกรายการนำเข้า หรือส่งออกสินค้า
ลักษณะของงานที่ทำ
ตรวจดูรายการสินค้าที่จะนำเข้าหรือส่งออกต่างประเทศ ศึกษาวิธีการขนส่ง ค่าส่ง และตัดสินใจใช้วิธีการที่ดีที่สุดในการขนส่ง จัดเตรียมสินค้าที่จะส่งออกเป็นพวกๆ และตรวจดูให้แน่ใจว่าได้ จ่าหน้านามผู้รับ และที่อยู่ไว้ถูกต้อง และพร้อมที่จะส่งแล้วบันทึกการส่ง
และดำเนินการเกี่ยวกับเรื่อง ความปลอดภัยของสินค้า หรือวัตถุดิบที่นำออกมา การประกันภัย การควบคุมเงินตราต่างประเทศ ดำเนินการออกของซึ่งนำเข้าที่กรมศุลกากรพิกัดอัตราภาษีศุลกากร การคำนวณภาษีขาเข้า การเก็บภาษี การคืนเงินภาษีอากร การเลือกเส้นทางขนส่ง และการส่งมอบสินค้าให้ผู้รับ
ตรวจสินค้าที่ได้รับไว้กับใบสำคัญแสดงหลักฐานการจ่ายสินค้า และเอกสารอื่น ๆ บันทึกสินค้าชำรุดหรือการขาดจำนวนของสินค้า ทำการมอบสินค้าให้แก่ผู้รับมอบ อาจห่อสินค้าเพื่อเตรียมส่ง อาจควบคุมการทำงานของ ผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงานนี้ อาจปฏิบัติงานเป็นกิจการส่วนตัว หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของสถานประกอบกิจการ
สภาพการจ้างงาน
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพผู้นำของเข้าหรือส่งออก ตัวแทนออกของ ชิปปิ้ง Clerk Dispatching and receiving Shipping Officer ได้รับค่าตอบแทนการทำงานทั้งที่เป็นเงินเดือนประจำ ค่าล่วงเวลา โบนัส สวัสดิการ และค่าตอบแทนการทำงานตามที่กำหนดเป็นเงื่อนไขการจ้างไว้ หรืออาจได้รับค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะราย หรือเฉพาะงานตามแต่จะตกลงกัน
ผู้ปฏิบัติงานนี้จึงได้รับค่าตอบแทนไม่แน่นอน โดยมีรายได้เป็นเงินเดือนขั้นต่ำประมาณ 6,500 บาทต่อเดือน และรายได้พิเศษจากการออกของวันละประมาณ 100 บาท
กำหนดเวลาทำงานและชั่วโมงทำงานไม่แน่นอน เพราะเป็นการปฏิบัติงานให้สำเร็จเป็นเฉพาะราย หรือเฉพาะงาน แต่จะต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว เพราะมีเงื่อนไขเวลาในการออกของหรือส่งออก
สภาพการทำงาน
เนื่องจากระบบการทำงานนำเข้าหรือส่งออก หรือตัวแทนออกของ หรือ ชิปปิ้งเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่เกี่ยวกับการขนส่ง (Logistics) และฝ่ายจัดหาและซื้อสินค้าจากต่างประเทศ (Foreign Procurement and Overseas Purchasing)
การทำงานหน้าที่นี้จึงต้องติดต่อประสานงานทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ ซึ่งประกอบด้วยหลายฝ่าย คือหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร ธนาคาร หน่วยงานของรัฐบาลคือ กรมศุลกากร (Royal Custom Department) และองค์กรต่างประเทศ ออกปฏิบัติงานในพื้นที่ที่จัดส่งหรือนำเข้าสินค้า ณ. บริเวณท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือที่ทำการไปรษณีย์แล้วนำไปส่งยังคลังสินค้าในกรณีที่มีการออกสินค้าที่นำเข้า
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. ผู้ปฏิบัติงานทางด้านนี้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ถึงปริญญาตรีและจะต้องมีประกาศนียบัตรแสดงการอบรมหลักสูตร"ตัวแทนออกของ" จากสำนักฝึกอบรมการนำเข้าส่งออกของสถาบันที่ได้รับการรับรองโดยกรมศุลกากร
2. มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เนื่องจากเอกสารหลักฐานส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ และต้องมีความรู้ด้านการนำเข้าและส่งออก
3. มีบัตรผ่านพิธีการศุลกากร หรือบัตรตัวแทนออกของจากกรมศุลกากร
4. มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์มีไหวพริบ และปฏิภาณดีในการแก้ไขปัญหา
5. มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความรับผิดชอบทั้งต่อองค์กร และลูกค้า มีคุณลักษณะในการทำงานเป็นทีมสูง
6. มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบข้อบังคับทางศุลกากร วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารการค้าธุรกิจระหว่างประเทศ
7. มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์พอที่จะใช้ในการปฏิบัติงานได้
ผู้ที่จะประกอบอาชีพผู้นำของเข้าหรือส่งออก ตัวแทนออกของ ชิปปิ้ง Clerk Dispatching and receiving Shipping Officer ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ :
ต้องเข้ารับการอบรมกับสถาบันหรือองค์กรที่ทางกรมศุลกากร ยอมรับในการอบรมวิชาชีพชิปปิ้ง และจะต้องขอมีบัตรผ่านพิธีศุลกากรซึ่งดำเนินการได้โดยการนำบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ทะเบียนบ้าน ทะเบียนการค้า (ถ้ามี) ปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรผ่านการอบรมหลักสูตร "ตัวแทนออกของ" หนังสือรับรองให้เป็น ผู้ถือบัตรผ่านพิธีการศุลกากรของบริษัท ห้างร้าน รูปถ่ายหน้าตรง1นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน โดยถ่ายสำเนาเอกสารทั้งหมดอย่างละ 1 ชุด ขอออกบัตรได้ที่กรมศุลกากร
โอกาสในการมีงานทำ
แนวโน้มของอาชีพผู้นำของเข้าหรือส่งออก ตัวแทนออกของ ชิปปิ้ง Clerk Dispatching and receiving Shipping Officerจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เนื่องจากนโยบายการเปิดการค้าเสรีระดับโลกของประเทศไทยในปี 2542 ตลอดจนนโยบายสนับสนุนการส่งสินค้าออกไปตลาดใหม่ อันเป็นนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย ผ่อนปรนเงื่อนไขบริการ ด้านสินเชื่อ และชดเชยภาระดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ผู้ส่งออก
ตลอดจนการลดหย่อนด้านภาษี จึงทำให้บริษัททำธุรกิจขยายธุรกิจเพื่อการส่งออก บุคลากรด้านตัวแทนออกของหรือ ชิปปิ้งจึงเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นของบริษัทระดับประเทศ และระดับนานาชาติอาชีพผู้นำของเข้าหรือส่งออก ตัวแทนออกของ ชิปปิ้ง Clerk Dispatching and receiving Shipping Officerอาจมีชื่อตำแหน่งเรียกแตกต่างกันไป เช่น เจ้าหน้าที่ เอ็กซปอร์ต - อิมปอร์ต เป็นต้น
อย่างไรก็ดีนอกจากบริษัทที่นำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออกของประเทศไทยแล้ว ยังมีบริษัทในระดับนานาชาติที่รับบริการนำของเข้า และส่งออกโดยเฉพาะ ซึ่งต้องการพนักงานทำหน้าที่นี้เช่นกัน
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพผู้นำของเข้าหรือส่งออก ตัวแทนออกของ ชิปปิ้ง Clerk Dispatching and receiving Shipping Officer มีโอกาสก้าวหน้าเป็นหัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย ผู้จัดการ หรือจัดตั้งสถานประกอบกิจการของตนเอง เมื่อมีความชำนาญงาน หรือพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความสามารถในงานนี้
เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพ และศักยภาพการทำงานในปัจจุบัน องค์กรเอกชน บริษัท และกรมศุลกากรได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพิธีศุลกากรในการจัดเก็บภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานในระดับนานาชาติในส่วนของการปฏิบัติงานหน้าที่ในองค์กร
บุคลากรที่มีความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษอย่างดีจะมีโอกาสความก้าวหน้าในการทำงานมากกว่าผู้ไม่มีความสามารถในเรื่องดังกล่าวและสามารถพัฒนาตนเองขึ้นไปสู่ลำดับขั้นความรับผิดชอบระดับบริหารในบริษัท หรือทำงานในองค์กรระดับนานาชาติที่มีเจ้าหน้าที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก อันเป็นโอกาสอันดีของผู้ที่ทำงานนี้และต้องการทำงานในต่างประเทศ
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพผู้นำของเข้าหรือส่งออก ตัวแทนออกของ ชิปปิ้ง Clerk Dispatching and receiving Shipping Officer อาจเปลี่ยนไปประกอบอาชีพเป็นผู้จัดซื้อสินค้าจากต่างประเทศหรือจัดส่ง สินค้าออกไปต่างประเทศ พนักงานคลังสินค้า พนักงานประเมินราคา ตัวแทนการนำเข้าและ ส่งออกสินค้า
รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน |
||||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัย |
คณะหรือประเภทวิชาที่เปิดสอน |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาเขตศรีราชา |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
วิทยาเขตหนองคาย สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะการจัดการและการท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
คณะบริหารศาสตร์ สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ |
คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร |
คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ(หลักสูตรภาษาอังกฤษ) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (ธุรกิจระหว่างประเทศ) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
วิทยาลัยนานาชาติ(English Program)สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาเขตศรีราชา |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (ภาคพิเศษ) วิทยาเขตศรีราชา |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ (โครงการสมทบพิเศษ) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
สํานักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมเกษตรและอาหาร วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมเครื่องกลวิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมพอลิเมอร? วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมยานยนต? วิศวกรรมโลหก |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (รูปแบบที่ 1) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (รูปแบบที่ 2) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี (รูปแบบที่ 1) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี (รูปแบบที่ 2) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ (รูปแบบที่ 1) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ (รูปแบบที่ 2) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน (วิทยาเขตจันทบุรี) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยบูรพา |
คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน(วิทยาเขตสระแก้ว) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยศิลปากร |
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
คณะวิทยาการจัดการ หาดใหญ่ บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง (วิทยาเขตบางพระ) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก |
คณะเทคโนโลยีสังคม สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง (วิทยาเขตจันทบุรี) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก |
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง (วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก |
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง (วิทยาเขตอุเทนถวาย) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (พื้นฐานวิทยาศาสตร์) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (พื้นฐานศิลปศาสตร์) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (วิชาเอกโลจิสติกส์) |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และปฏิบัติการ |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกศ? |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน |
|||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ |